วันอาทิตย์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2552

บทวิเคราะห์




ป่าเสื่อมโทรม คือ เขตพื้นที่ทั้งหมดหรือบางส่วนของป่าที่มีสภาพเป็นป่าร้างเก่า หรือเป็นทุ่งหญ้า หรือป่าที่ไม่มีไม้มีค่าขึ้นอยู่เลย หรือป่าที่มีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นคืนดีได้ตามธรรมชาติ ในประเทศไทยของเรามีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมหลายแห่ง ซึ่งอาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติหรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์เอง เช่น สภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนไปทำให้พืชไม่สามารถปรับตัวให้สมดุลได้,การลักลอบตัดไม้ทำลายป่าเพื่อนำมาขาย,ประชากรที่เพิ่มขึ้นเกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อหาที่ทำกิน,ประชาชนขาดจิตสำนึกในการดูแล ,การเผาป่าเป็นต้น การที่กำหนดพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมที่หนึ่ง ไม่มีพื้นที่ที่กำหนดไว้แน่นอนแต่มีหลักเกณฑ์หลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการกำหนดสภาพป่าเสื่อมโทรมตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๒ มิถุนายน ๒๕๓0 แก้ไขเพิ่มเติมโดยมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ ๙ พฤษภาคม ๒๕๓๒ คือ
๑. เป็นป่าไม้ที่มีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลืออยู่เป็นส่วนน้อย และป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นคืนดีได้ตามธรรมชาติ โดยมีไม้ขนาดความโตวัดโดยรอบลำต้นตรงที่สูง ๑๓0 เซนติเมตร ตั้งแต่ ๕0– ๑00 เซนติเมตร ขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ ๘ ต้น หรือมีไม้ขนาดความโตเกิน ๑00 เซนติเมตร ขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ ๒ ต้น
๒. ในกรณีที่ป่านั้นอยู่ในพื้นที่ต้นน้ำลำธารชั้นที่ ๑A ชั้นที่ ๑B และชั้นที่ ๒ แม้จะมีต้นไม้น้อยเพียงใดก็ตาม ก็มิให้กำหนดเป็นป่าเสื่อมโทรม
๓. มีลูกไม้ขนาดความสูงเกิน ๒ เมตร ขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ ๒0 ต้น หรือมีไม้ขนาดความโตวัดโดยรอบลำต้นตรงที่สูง ๑๓0 เซนติเมตร ตั้งแต่ ๕0 - ๑00 เซนติเมตร ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ ๘ ต้น หรือมีไม้ขนาดความโตเกิน ๑00 เซนติเมตร ขึ้นไป ขึ้นกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ไม่เกินไร่ละ ๒ ต้น หรือพื้นที่ป่าที่มีไม้เข้าหลักเกณฑ์ทั้ง ๓ ลักษณะดังกล่าวเมื่อรวมกันแล้วต้องมีจำนวนไม่เกินไร่ละ ๑๖ ต้น
เมื่อมีพื้นที่ป่าเสื่อมโทรมเกิดขึ้นก็จะเกิดผลกระทบตามมามากมาย เช่น น้ำท่วม,ดินถล่ม,หน้าดินถูกทำลาย,สัตว์และคนไม่มีที่อยู่อาศัย,
การพังทลายของดิน เป็นต้น ประชาชนทุกคนทั้งภาครัฐและเอกชน ต่างได้รับผลกระทบ แต่ทหารของเราที่ได้ชื่อว่าเป็นนักพัฒนาของชาติ ได้เข้ามาช่วยเหลือกับปัญหานี้
โดยการนำแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยมีตัวอย่าง
อดีตเป็นป่าเสื่อมโทรมกลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง ด้วยแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานแนวการพัฒนาพื้นที่แบบเบ็ดเสร็จ จากการประสานหน่วยราชการที่เกี่ยวข้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อเร่งรัดการจัดหา แหล่งน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภค และทำการเกษตร ตลอดจนการพัฒนาอาชีพการเกษตร และศิลปาชีพ รวมทั้งการพัฒนาฟื้นฟูสภาพป่าและต้นน้ำลำธาร ๕ แนวทาง ประการแรก ส่งเสริมการปลูกป่า ๓ อย่าง ประโยชน์ ๔อย่าง โดยเพาะชำกล้าไม้ ใช้สอยไม้ผลและไม้เศรษฐกิจตามแนวพระราชดำริ ได้แก่ หมากเม่า ไผ่ป่า และหวายดง ประการต่อมาต้องฝึกอบรมเยาวชนรักษ์ป่าพิทักษ์แผ่นดินแม่ เพื่อให้เยาวชนเป็นแนวร่วมสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรดินและทรัพยากรน้ำ เพื่อสร้างจิตสำนึกให้แก่เยาวชนและราษฎรมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่า และทรัพยากรธรรมชาติ ประการที่สาม อบรมราษฎรอาสาสมัครพิทักษ์ป่า(รสทป.) เพื่อให้ “คน” และ “ป่า” สามารถอยู่ร่วมกันอย่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ทำให้ราษฎรเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมจากผู้บุกรุกทำลายป่า มาเป็นคนดูแลรักษาและใช้ประโยชน์จากป่าอย่างยั่งยืน ประการที่สี่ ฟื้นฟูสภาพป่าบริเวณต้นน้ำภายในพื้นที่โครงการ โดยการเพาะชำกล้าไม้ชนิดต่างๆ ๒ แสนกล้า ได้แก่ ประดู่ สัก ไผ่ สะเดา ขี้เหล็ก นนทรี ยางนา ตีนเป็ด มะกอกป่า พันชาด เม่า เต็ง และส่งเสริมราษฎรในท้องถิ่นปลูกป่าซ่อมแซมป่าเสื่อมโทรม และประการสุดท้าย ก่อสร้างฝายต้นน้ำลำธารแบบผสมผสาน (Check Dam) ๒00 ฝาย เพื่อกักเก็บน้ำไว้บนภูเขา สร้างความชุ่มชื้นให้แก่ป่าไม้ ดิน และบรรยากาศไม่ให้เกิดความแห้งแล้ง โดยใช้แรงงานจากราษฎรในพื้นที่ เป็นการสร้างงานและรายได้แก่ราษฎรด้วย
ป่าเสื่อมโทรมก็ได้รับการฟื้นฟูให้กลับมาอุดมสมบูรณ์อีกครั้ง โดยความร่วมมือกันของทุกฝ่าย ปัญหาเกี่ยวกับป่าเสื่อมโทรมนี้ไม่ใช่ความรับผิดชอบของคนใดคนหนึ่ง แต่เป็นความรับผิดชอบของเราทุกคนที่จะต้องช่วยกันดูแลต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น